เพราะกฏระเบียบเป็นเรื่องสำคัญ “องค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง พรบ.ครู” ที่ข้าราชการครูควรรู้

องค์ประกอบความผิด-พรบ.ข้าราชการครู


เพราะกฏระเบียบเป็นเรื่องสำคัญที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องใส่ใจ วันนี้ Trainflix เลยนำบทความเกี่ยวกับพฤติการณ์ความผิด ของข้าราชการครูและบุคคลทางการศึกษา ตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย มาให้ศึกษากันค่ะ


1.
องค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง
1. ไม่วางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
2. ไม่วางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษและเป็นการปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชน
3. ปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนอันมีลักษณะของการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
  •  แสดงออกให้เห็นถึงการที่ตนเองมีความฝักใฝ่ทางการเมืองในบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหรือพรรคการเมืองใด
  • ให้การส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหรือพรรคการเมือง

การวางตนเป็นกลางทางการเมืองนั้น หมายถึง เฉพาะในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเท่านั้น ที่ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวางตนเป็นกลาง เช่น ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการจะอำนวยประโยชน์ให้แก่พรรคการเมืองใดเป็นพิเศษกว่าพรรคการเมืองอื่น หรือกว่าบุคคลทั่วไปมิได้ หรือจะชักชวนให้ประชาชนสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งโดยเฉพาะก็ทำไม่ได้ ส่วนในทางส่วนตัวจะนิยมหรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดก็ได้ไม่ห้าม คงห้ามแต่การเป็นกรรมการพรรคการเมืองและเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ซึ่งกำหนดไว้เป็นคุณสมบัติที่ต้องห้ามเท่านั้น

นอกจากนี้ มาตรานี้ยังบัญญัติห้ามมิให้ข้าราชการครูและบุคคลทางการศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการอันเป็นทุจริตในการเลือกตั้งทางการเมืองอีกด้วย


2.
ตัวอย่างพฤติการณ์ความผิด
• ปฏิบัติการโดยเลือกปฏิบัติหรือปฏิบัติโดยปราศจากความเป็นธรรมบนพื้นฐานความฝักใฝ่ในทางการเมืองของตนเอง (ภาคทัณฑ์)
• การยินยอมให้ใช้สถานที่ราชการเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง หรือดําเนินกิจกรรมทางการเมืองเฉพาะแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง (ภาคทัณฑ์)
• การติดป้ายหรือสื่อสิ่งใดในสถานที่ปฏิบัติราชการของตน อันสื่อให้เห็นถึงการฝักใฝ่ทางการเมืองในบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง (ภาคทัณฑ์)
• การหาเสียงให้หรือการกล่าวสนับสนุนทางการเมืองแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงในการเรียนการสอน หรือในกิจกรรมทางการศึกษาอื่นใดไม่ว่าจะกระทําในสถานที่ราชการ หรือไม่ก็ตาม(ภาคทัณฑ์)
• เป็นการกระทําในเรื่องราชการแต่ไม่ใช่หน้าที่ราชการโดยตรง ซึ่งผลของการกระทํานั้นทําให้เห็นได้ว่ าเป็นเรื่องของการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลกลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง พรรคใดโดยเฉพาะเจาะจง (ภาคทัณฑ์)
ตามมาตรา93 วรรคสอง บัญญัติห้ามข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องใดๆ กับการทุจริตการเลือกตั้งที่มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ขอบคุณข้อมูลจาก:  ครูเชียงรายดอทคอม